หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการประจำปี
การวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางโครงสร้างเคมีของสาร โดยใช้ความยาวคลื่นช่วงอินฟราเรด Fourier Transform Infrared Spectroscopy (FTIR) (299 บาท/คน)
1. หลักการและเหตุผล
สำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ให้บริการทดสอบตัวอย่างด้วยเครื่องฟูเรียร์ทรานฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรมิเตอร์ (FTIR) เป็นการวัดปริมาณของแสงที่ถูกดูดกลืนด้วยการกระตุ้นสารด้วยพลังงานช่วงแสงอินฟราเรด เนื่องจากโมเลกุลของสารดูดกลืนแสงอินฟราเรดเข้าไปจะทำให้พันธะในโมเลกุลเกิดการสั่นและการหมุน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโมเลกุลของสารนั้น ๆ ซึ่งสารอินทรีย์แต่ละชนิดจะมีค่าความถี่ของการสั่นที่จำเพาะและแตกต่างกันไป จึงสามารถใช้สันนิฐานหมู่ฟังก์ชันในสารได้ ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวสามารถวิเคราะห์และทดสอบในตัวอย่างที่หลากหลายกลุ่มงานและหลายอุตสาหกรรม เช่น ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ด้านอาหาร อาหารเสริม ด้านเครื่องสำอาง ด้านยางและพอลิเมอร์ วัสดุและวัสดุก่อสร้าง ด้านอัญมณี อุตสาหกรรมสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์คาร์บอน ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ บรรจุภัณฑ์ และกระดาษและสิ่งพิมพ์เป็นต้น ดังนั้นเพื่อผู้ทำการทดสอบได้ผลการทดสอบที่ดีและถูกต้องครบถ้วน จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีและหลักการของเครื่อง ตลอดจนการเลือกเทคนิคการเตรียมตัวอย่างให้เหมาะสมกับประเภทตัวอย่างที่หลากหลาย รวมถึงสามารถแปลผลการทดสอบได้อย่างถูกต้อง
สำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์ฯ ซี่งเป็นหน่วยงานให้บริการทดสอบ มีนักวิทยาศาสตร์ที่มีทักษะและประสบการณ์ในการให้บริการทดสอบตัวอย่างที่มีความหลากหลายด้วยเครื่องมือ Fourier Transform Infrared Spectrometer (FT-IR) สามารถถ่ายทอดความรู้ทางทฤษฎีและหลักการ ตลอดจนเทคนิคในการเตรียมตัวอย่างรวมถึงการแปลผลการทดสอบที่ได้จากตัวอย่าง เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้และนำไปการประยุกต์ใช้การทดสอบตัวอย่างเหมาะสมและสามารถแปลผลจากการทดสอบด้วยเครื่องมือดังกล่าวได้เบื้องต้น
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้ผู้รับการอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและหลักการ ตลอดจนเทคนิคในการเตรียมตัวอย่าง
ที่เหมาะสมรวมถึงการแปลผลการทดสอบด้วยเครื่องมือ Fourier Transform Infrared Spectrometer (FT-IR)
2.2 เพื่อให้ผู้รับการอบรมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ต่อยอดได้
3. รูปแบบการอบรม แบบบรรยายและทดลองปฏิบัติงานจริง
4. หลักสูตรการอบรม
4.1 ทฤษฎีและหลักการ ตลอดจนเทคนิคในการเตรียมตัวอย่างที่เหมาะสมรวมถึงการแปลผลการทดสอบด้วยเครื่องมือ Fourier Transform Infrared Spectrometer (FT-IR)
4.2 แนวทางในการประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ
5. คุณสมบัติและจำนวนผู้เข้ารับการอบรม
อาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน
6. กำหนดวันฝึกอบรมและสถานที่ฝึกอบรม
วันศุกร์ ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2568
Onsite ณ ห้องประชุม 102 ชั้น 1 อาคารบริหารวิชาการรวม สำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่