หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการประจำปี

เทคนิคการวิเคราะห์ตัวอย่างด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (299 บาท/คน)


Card image cap

1. หลักการและเหตุผล      

       กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนมีสองประเภทหลักได้แก่ Transmission Electron Microscope (TEM) -ใช้อิเล็กตรอนในการถ่ายผ่านตัวอย่างบางมากๆ เพื่อสร้างภาพภายใน ทำให้สามารถเห็นโครงสร้างที่อยู่ภายในเซลล์ได้อย่างละเอียด และ Scanning Electron Microscope (SEM) ใช้ลำแสงอิเล็กตรอนเพื่อสแกนพื้นผิวของตัวอย่าง ซึ่งให้ภาพแบบสามมิติของพื้นผิวที่ละเอียด ซึ่งกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนมีความสำคัญมากในด้านการศึกษาในระดับนาโนเมตร เช่น ชีววิทยา วัสดุศาสตร์ นาโนเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ด้านอื่น ๆ ที่ต้องการความละเอียดสูงในการตรวจสอบ การใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (Electron Microscope) จึงเป็นเครื่องมือที่จำเป็นต่อการศึกษารายละเอียดของตัวอย่างในระดับที่กล้องจุลทรรศน์แสงทั่วไปไม่สามารถทำได้
        การอบรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้และทักษะในการใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การเตรียมตัวอย่างให้เหมาะสมกับประเภทของกล้อง เช่น TEM หรือ SEM ไปจนถึงหลักการทำงานของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนทั้ง 2 ประเภท โดยเนื้อหาจะครอบคลุมการใช้งานในตัวอย่างทางชีววิทยา และตัวอย่างทางด้านวัสดุ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้ในการวิจัยหรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้จริง

2. วัตถุประสงค์

     2.1 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้พื้นฐาน และหลักการทำงานของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด(Scanning electron microscope; SEM) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (Transmission electron microscope; TEM)
     2.2 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้กล้อง SEM และ TEM กับงานวิจัยได้
     2.3 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้เรื่องการเตรียมตัวอย่างทางชีววิทยา และด้านวัสดุเพื่อทดสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

3. รูปแบบการอบรม    แบบบรรยาย

4. หลักสูตรการอบรม  

     4.1 ความรู้พื้นฐานของเครื่องมือวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคเครื่องมือ SEM และ TEM
     4.2 เทคนิคการประยุกต์ใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนในงานต่าง ๆ
     4.3 เทคนิคการเตรียมตัวอย่างสำหรับทดสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
           - ตัวอย่างทางชีววิทยา (เชื้อจุลินทรีย์ เนื้อเยื่อสัตว์ เนื้อเยื่อพืช)
           - ตัวอย่างทางด้านวัสดุ (ยาง พลาสติก วัสดุนาโน เซรามิก)

5. คุณสมบัติและจำนวนผู้เข้ารับการอบรม
      ผู้สนใจทั่วไป รับจำนวนจำกัด 30 คน เท่านั้น (ขั้นต่ำ 20 คน)

6. กำหนดวันฝึกอบรมและสถานที่ฝึกอบรม
     วันศุกร์ ที่ 9 พฤษภาคม  2568
    Onsite ณ ห้องประชุม 102 ชั้น 1 อาคารบริหารวิชาการรวม สำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่



สำหรับหลักสูตรที่มีค่าลงทะเบียนอบรม มีวิธีการชำระเงินดังนี้


  1. ผู้สมัครต้องชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่สิ้นสุดการรับสมัคร หากเกินระยะเวลาที่กำหนดในการชำระเงินค่าสมัคร จะถือว่าการสมัครไม่ครบถ้วน ชำระเงินก่อนมีสิทธิ์ก่อน การสมัครเสร็จสมบูรณ์ เมื่อท่านชำระเงินเรียบร้อยแล้ว
  2. โอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    บัญชีเงินฝากประเภท ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี สำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ เลขที่บัญชี 565-2-56375-5
  3. ยืนยันการชำระเงิน ส่งสำเนาหลักฐานการชำระเงิน ระบุชื่อหลักสูตร ชื่อหน่วยงานและที่อยู่สำหรับออกใบเสร็จ
    ส่งมาที่ ID Line: @ositpsu หรือ E-mail: osit@group.psu.ac.th พร้อมระบุหลักสูตรและวันที่อบรม
  4. กรณีที่ผู้สมัครไม่สามารถเข้าร่วมอบรมได้ สามารถแจ้งเปลี่ยนรายชื่อผู้เข้าอบรม หรือแจ้งยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษร
    ก่อนวันอบรมอย่างน้อย 1 สัปดาห์ มิฉะนั้นสำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ ขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บ 50% ของค่าธรรมเนียมดังกล่าว