หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการประจำปี

การใช้และการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือทดสอบทางโครมาโทกราฟ (499 บาท/คน)


Card image cap

1. หลักการและเหตุผล    
         เครื่องมือทดสอบทางโครมาโทกราฟ (Chromatography) มีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์ทางเคมีและชีวภาพ โดยถูกใช้เพื่อแยก สกัด และวิเคราะห์สารประกอบในตัวอย่างได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ การใช้งานเครื่องมือนี้จำเป็นในหลากหลายสาขา เช่น เคมี วิทยาศาสตร์การอาหาร การแพทย์ และอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งต้องการข้อมูลเชิงลึกในการวิเคราะห์องค์ประกอบสาร เพื่อใช้ในการวิจัย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม การใช้งานเครื่องมือโครมาโทกราฟและการบำรุงรักษา จำเป็นต้องอาศัยความรู้และทักษะเฉพาะทาง เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย การขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้งานที่เหมาะสมและการซ่อมบำรุงเครื่องมือโครมาโทกราฟอาจนำไปสู่ความผิดพลาดในการทดสอบ เสียหายต่อเครื่องมือ หรือการวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของงานวิจัยและผลิตภัณฑ์ ผู้ใช้เครื่องมือจึงต้องมีความเข้าใจในหลักการทำงาน การใช้งานที่ถูกต้อง รวมถึงการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) เพื่อลดความเสี่ยงจากความเสียหายที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่เหมาะสม ป้องกันการหยุดชะงักในกระบวนการทดสอบ และลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเครื่องมือในระยะยาว
       สำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการให้บริการทดสอบตัวอย่างทางวิทยาศาสตร์และให้บริการใช้เครื่องมือวิจัยสำหรับนักวิจัยและนักศึกษา รวมถึงหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน สำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์ฯ มีเครื่องมือโครมาโทกราฟหลากหลายชนิดที่ทันสมัยและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้ การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร "การใช้และการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือทดสอบทางโครมาโทกราฟ" จึงมีความจำเป็น เพื่อให้ความรู้ที่ครอบคลุมทั้งการใช้งานและการบำรุงรักษาเครื่องมือแก่ผู้ที่สนใจ

2. วัตถุประสงค์
   2.1เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้และทักษะในการใช้งานเครื่องมือโครมาโทกราฟอย่างถูกต้องและปลอดภัย
   2.2 เพื่อพัฒนาทักษะการบำรุงรักษาเครื่องมือโครมาโทกราฟเบื้องต้นและการแก้ไขปัญหาที่พบบ่อย
   2.3 เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแปลผลและวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดสอบ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการวิจัยหรือการประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้อง

3. รูปแบบการอบรม   บรรยายและดูการทำงาน และผลการวิเคราะห์ของเครื่องมือ ณ สถานที่ติดตั้ง

4. หลักสูตรการอบรม
    4.1 ความรู้พื้นฐานและหลักการทำงานของเครื่องมือวิจัยทางวิทยาศาสตร์
    4.2 ลักษณะชนิดของตัวอย่างที่เหมาะกับการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือวิจัยทางวิทยาศาสตร์
    4.3 การแปลผลการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือวิจัยทางวิทยาศาสตร์
    4.4 บรรยายวิธีการซ่อมบำรักษาเชิงป้องกัน
    4.5 การฝึกปฏิบัติในการแก้ปัญหาเบื้องต้น

5. คุณสมบัติและจำนวนผู้เข้ารับการอบรม
    นักวิจัย นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป จำนวน 30 คน (ขั้นต่ำ 20 คน )

6. กำหนดวันฝึกอบรมและสถานที่ฝึกอบรม
    วันที่ 20-21 มีนาคม 2568
    Onsite ณ ห้องประชุม 102 ชั้น 1 อาคารบริหารวิชาการรวม สำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่




สำหรับหลักสูตรที่มีค่าลงทะเบียนอบรม มีวิธีการชำระเงินดังนี้


  1. ผู้สมัครต้องชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่สิ้นสุดการรับสมัคร หากเกินระยะเวลาที่กำหนดในการชำระเงินค่าสมัคร จะถือว่าการสมัครไม่ครบถ้วน ชำระเงินก่อนมีสิทธิ์ก่อน การสมัครเสร็จสมบูรณ์ เมื่อท่านชำระเงินเรียบร้อยแล้ว
  2. โอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    บัญชีเงินฝากประเภท ออมทรัพย์ ชื่อบัญชี สำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ เลขที่บัญชี 565-2-56375-5
  3. ยืนยันการชำระเงิน ส่งสำเนาหลักฐานการชำระเงิน ระบุชื่อหลักสูตร ชื่อหน่วยงานและที่อยู่สำหรับออกใบเสร็จ
    ส่งมาที่ ID Line: @ositpsu หรือ E-mail: osit@group.psu.ac.th พร้อมระบุหลักสูตรและวันที่อบรม
  4. กรณีที่ผู้สมัครไม่สามารถเข้าร่วมอบรมได้ สามารถแจ้งเปลี่ยนรายชื่อผู้เข้าอบรม หรือแจ้งยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษร
    ก่อนวันอบรมอย่างน้อย 1 สัปดาห์ มิฉะนั้นสำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ ขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บ 50% ของค่าธรรมเนียมดังกล่าว