หลักสูตรอบรมฟรี

ความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการและสารเคมี (On site) "ปิดรับสมัคร" เนื่องจากมีผู้สมัครเต็มแล้ว


Card image cap

1. หลักการและเหตุผล
       ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี มีความสําคัญอย่างมากสําหรับผู้ปฏิบัติงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับสารเคมี เครื่องมือ/อุปกรณ์ และวัสดุทดลองที่ใช้ในการปฏิบัติการจํานวนมาก หากผู้ปฏิบัติงานมิได้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ อาทิเช่น การประเมินความเสี่ยง การจัดการสารเคมี ข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี กฎหมายความปลอดภัย รวมทั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล อาจจะก่อให้เกิดอันตรายและอุบัติเหตุขึ้นได้ เมื่ออุบัติเหตุเกิดขึ้นแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายตามมามากมาย บางครั้งเป็นความเสียหายร้ายแรงถึงเสียชีวิต สูญเสียเครื่องมือวิทยาศาสตร์และอุปกรณ์ นอกจากนี้แล้วยังมีความเสียหายที่มองไม่เห็นในทันที ได้แก่ การสูญเสียเวลาในการทำงาน เนื่องจากไม่สามารถทำงานได้ ต้องเสียเวลาฝึกหัดผู้อื่นให้ทำหน้าที่แทนผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ เสียเวลาในการสืบสวนและวิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุ โดยคณะกรรมการทั้งภายในและภายนอกองค์กร นอกจากนี้ยังเสียค่าใช้จ่ายซ่อมแซมเครื่องมือวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์ต่าง ๆ สูญเสียลูกค้า เสียภาพพจน์และชื่อเสียง และอื่น ๆ อีกมาก

       ดังนั้นความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุจึงเป็นมูลค่ามหาศาลและควรหาทางป้องกัน ไม่ให้อุบัติเหตุเกิดขึ้นอีก เพื่อเตรียมความพร้อมและการป้องกันอันตราย และต้องทำงานด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานในห้องปฏิบัติการเคมี เพราะนอกจากอันตรายทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นได้แล้ว ยังมีอันตรายอันเนื่องมาจากธรรมชาติของสารเคมี รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องแก้วและการทำงานบางอย่างที่มีลักษณะเฉพาะ ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นกว่าปกติ อันตรายของสารเคมีมีหลายรูปแบบ บางชนิดเป็นอันตรายน้อย บางชนิดก่อให้เกิดอันตรายรุนแรง ได้แก่ สารไวไฟ สารระเบิดได้ สารออกซิไดส์ สารกัดกร่อน สารระคายเคือง สารพิษ สารกัมมันตรังสี สารก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ และสารก่อให้ทารกมีลักษณะผิดปกติ จึงต้องทำงานกับสารเคมีด้วยความเอาใจใส่ และคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยเสมอ

        หลักสูตรนี้มุ่งเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานให้ความปลอดภัย รวมถึงให้สามารถจัดระบบบริหารจัดการให้เหมาะกับประเภทของความเสี่ยง ความเป็นอันตรายของสารเคมีและปัญหาที่เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุในการทำงานได้ ซึ่งจะนำไปสู่การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยอย่างยั่งยืน จนเป็นวัฒนธรรมขององค์กร นอกจากนี้ยังเป็นการปูทางไปสู่การยกระดับห้องปฏิบัติการให้มีมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานและนำไปสู่การสร้างระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยตามมาตรฐาน มอก. 2677-2558 ในอนาคต

2. วัตถุประสงค์
    2.1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานในห้องปฏิบัติการและสารเคมี
    2.2 เพื่อลดพฤติกรรมการทำงานที่ไม่ปลอดภัย และเพิ่มพฤติกรรมที่ปลอดภัยในการทำงาน
    2.3 เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และประสบการณ์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. วิธีการดำเนินงาน

    ภาคบรรยาย มีการทดสอบหลังการฝึกอบรม

 
4. หลักสูตรการอบรม

   4.1 มาตรฐานความปลอดภัยข้อกำหนด  มอก. 2677-2558 และ ESPRel Checklist
   4.2 เจาะลึกกระบวนการจัดการความปลอดภัยของ OSIT (OSIT Safety Management in Practice)

5. คุณสมบัติและจำนวนผู้เข้ารับการอบรม
    ผู้ที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการเคมี และผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมี จำนวน 30 คน (ขั้นต่ำ 20 คน)

6. กำหนดวันฝึกอบรมและสถานที่ฝึกอบรม
    วันที่ 28 พฤษภาคม 2567    เวลา 08:30 - 16:30 น.  ณ ห้องประชุม 102 ชั้น 1 อาคารบริหารวิชาการรวม สำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่