หลักสูตรอบรมฟรี

เทคนิคการวิเคราะห์ตัวอย่างด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (On site)


Card image cap

1. หลักการและเหตุผล   
       การวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคในตัวอย่างทางด้านชีววิทยาและวัสดุศาสตร์นั้นเป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาลักษณะโครงสร้างโดยรวมของตัวอย่างได้ดี การวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคที่นิยมใช้กันมากได้แก่เทคนิค กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (TEM) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) ซึ่งการใช้เทคนิคดังกล่าวนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมตัวอย่างให้ถูกต้องและเหมาะสม ทำให้ได้ภาพที่สามารถตอบโจทย์นักวิจัยและผู้ใช้บริการได้ ซึ่งสำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบได้ให้บริการวิเคราะห์ตัวอย่างด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน โดยให้บริการเครื่อง Scanning Election Microscope (SEM) และ Transmission Electron Microscope (TEM) เพื่อใช้ในการถ่ายภาพตัวอย่างทั้งทางชีววิทยา และทางวัสดุ ซึ่งการเตรียมตัวอย่างมีความหลากหลายและซับซ้อน
        ดังนั้นเพื่อให้ผู้ใช้บริการและผู้ที่สนใจได้รับความรู้ความเข้าใจหลักการทำงานของเครื่องมือ กระบวนการเตรียมตัวอย่าง และการบำรุงรักษาเครื่องมือเบื้องต้น สำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบจึงกำหนดจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคสำหรับนักวิจัยและนักศึกษาขึ้น เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการทดสอบด้วยเครื่องมือดังกล่าว รวมถึงเทคนิคการเตรียมตัวอย่างทางชีววิทยา การเตรียมตัวอย่างทางวัสดุ


2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้พื้นฐาน และหลักการทำงานของเครื่องมือวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค SEM และ TEM
2.2 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการประยุกต์ใช้ด้านการวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคในงานต่าง ๆ
2.3 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้เรื่องการเตรียมตัวอย่างทางชีววิทยา และด้านวัสดุเพื่อทดสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน


3. รูปแบบการอบรม    บรรยายและฝึกปฏิบัติ

4. หลักสูตรการอบรม
4.1 ความรู้พื้นฐานของเครื่องมือวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค SEM และ TEM
4.2 เทคนิคการประยุกต์ใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ในงานต่าง ๆ
4.3 เทคนิคการเตรียมตัวอย่างสำหรับทดสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
    - ตัวอย่างทางชีววิทยา (เชื้อจุลินทรีย์ เนื้อเยื่อสัตว์ เนื้อเยื่อพืช)
    - ตัวอย่างทางด้านวัสดุ (ยาง พลาสติก วัสดุนาโน เซรามิก โบราณวัตถุ)


5. คุณสมบัติและจำนวนผู้เข้ารับการอบรม

    ผู้สนใจทั่วไป รับจำนวนจำกัด 15 คน เท่านั้น (ขั้นต่ำ 10 คน)


6. กำหนดวันฝึกอบรมและสถานที่ฝึกอบรม

    วันที่  29  เมษายน 2567   เวลา 08:30 - 16:30 น.  ณ ห้องประชุม 102 ชั้น 1 อาคารบริหารวิชาการรวม สำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่